วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

[DIY หมวดเกษตร] ประสบการณ์ตรงใช้รอก หรือกว้านสลิงดี

สัวสดีจ้า มาพบกันอีกแล้วกับบล็อคให้สาระความรู้ จากหัวประเด็นเราจะมาว่ากันในเรื่องราวที่เกี่ยวกับ ประสบการณ์ตรงใช้รอก หรือกว้านสลิงดี บางคนมองว่าเรื่อง เครื่องช่วยยกของหนัก เป็นเรื่องธรรมดา  เรื่อง เครื่องทุ่นแรงยกของหนัก เป็นเรื่องปกติใครๆ ก็รู้ แต่สำหรับหลายๆ คนเรื่องราวเกี่ยวกับ อุปกรณ์ เลื่อน ของ หนัก ถือเป็นสิ่งที่ยังไม่รู้ หรืออาจจะรู้แล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจ มาบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจ ก่อนที่จะเริ่มนำไปเป็นข้อมูล นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติกัน
[DIY หมวดเกษตร] ประสบการณ์ตรงใช้รอก หรือกว้านสลิงดี
[DIY หมวดเกษตร] ประสบการณ์ตรงใช้รอก หรือกว้านสลิงดี

[DIY หมวดเกษตร] ประสบการณ์ตรงใช้รอก หรือกว้านสลิงดี

รอก หรือกว้าน ใช้แบบไหนดี อ้อมบอกเลยว่า อยู่ที่หน้างานและความเหมาะสม บทความนี้ตัวอ้อมเองไม่ได้ใช้กับตัวแต่เป็นแฟนที่ใช้งานโดยตรง และจ่ายเงินไปกับอุปกรณ์เคลื่อนย้ายของหนัก หลายชิ้นเลยค่ะ  หน้างานที่ทางอ้อมทำไม่ได้เป็นการยกของหนักมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนย้ายสิ่้งของจากที่นึงไปอีกที่นึง ส่วนใหญ่ตอนนี้เป็นเรื่องการเกษตร

ครั้งแรกที่สั่งซื้่อรอก อ้อมกับแฟนตกลงกันว่า เราน่าจะซื้อเผื่ออนาคตไปเลย เผื่อใช้กับงานอื่นด้วย ก็เลยตัดสินใจเลือกซื้่อลอกแบบ 3 ตันมาใช้งาน  ด้วยความที่หน้างานของอ้อมไม่เน้นงานหนัก  ทำให้การใช้รอกแบบนี้ ไม่เหมาะ เพราะ น้ำหนักตัวรอกเยอะมากๆ อ้อมยกไม่ไหวค่ะ ต้องให้แฟนยกตลอด การขึ้นลงของเป็นไปด้วยความล่าช้าไม่ทันใจ ก็เลยตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้กว้านสลิง

กว้านสลิง ตัวนี้ทำหน้าที่เหมือนรอกเลยค่ะ สามารถยกของหนัก ทั้งแนวตั้ง และแนวนอนได้สบายๆ เลย ราคาสำหรับอ้อมมองว่าอยู่ในช่วงราคาที่ไปทางสูง คือ 3,000 กว่าบาท ณ เวลาที่อ้อมซื้อนะคะ
กว้านสลิง ข้อดีคือ

  • เราไม่ต้องสาวโซ่ ใช้เป็นการกดปุ่มแทน
  • สามารถใช้งานกับแบตเตอรี่ 12V DC ได้สบาย
  • กว้านสลิงตัวที่อ้อมซื้อมารับน้ำหนักได้ 1 ตันนิดๆ แต่เอาเข้าจริงๆ การรับน้ำหนักแปรผันไปตามแหล่งจ่ายพลังงานเช่นแบตเตอรี่ด้วยค่ะ

หลังจากซื้อกว้านสลิงมา บอกเลยว่าตอบโจทธ์การทำงานแบบอ้อมมาก เพราะรวดเร็ว ไม่ต้องยกรอกหนักๆ สามารถปรับใช้กับหน้างานได้หลากหลาย  ของอ้อมนำมาติดตั้งกับขาตั้งแบบถอดประกอบได้  ขาตั้งทำเองเช่นกันค่ะ ไม่ได้ซื้อ ใช้เป็นเหล็กที่เหลือจากการสร้างบ้านมาใช้งาน เน้นใช้งานขนของขึ้นรถเป็นส่วนใหญ่

ส่วนรอก 3 ตัวที่เคยใช้ นำไปใช้กับการยกเสา ยกของหนักๆ เน้นของที่ต้องใช้คนยก 2 คนขึ้นไป เช่นกันกับกว้านสลิงค่ะ อ้อมทำขาตั้งสำหรับรอก 3 ตันตัวนี้  ขาตั้งใช้เหล็กปะปาขนาด 1 นิ้ว ประเมิณว่ารับน้ำหนักได้ไม่เกิน 2 ตัว จุดนี้สำคัญมากๆ นะคะ  จริงอยู่ว่ารอกรับน้ำหนักได้ 3 ตัน แต่เราต้องประเมิณจากอุปกรณ์รอบๆ ด้วย หากไปฝืนใช้งานเกินกว่าขาตั้งอาจจะเกิดอันตรายได้ค่ะ

อุปกรณ์เคลื่อนย้ายของหนักตัวที่ 3 ที่อ้อมซื้อมาใช้งาน คือ รอกสลิงมือโยก ตัวนี้เน้นงานชักจูง ของหนักจากที่นึงไปที่นึง เช่นเสา, ต้นไม้ที่เราตัดแล้ว หรือการโค้นต้นใหม่ เราใช้ รอกสลิงมือโยกดึงลำต้นให้เอนเอียงไปในทิศทางที่เราต้องการ เป็นต้น

อุปกรณ์ เลื่อน ของ หนัก ทั้ง 3 แบบ จากประสบการณ์ตรงเลย ใช้งานแตกต่างกัน แล้วแต่ความเหมาะสมของงาน หากตัดสินใจจะซื้ออ้อมแนะนำให้ดูความเหมาะสมของหน้างานเป็นหลัก ไม่ต้องซื้อเผื่อเหมือนอ้อม เพราะ รอก และกว้านสลิงแต่ละชนิด มีรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ปรับใช้ร่วมหันได้ไหม บางชนิดค่ะ บางชินดที่ดูแล้วน่าจะปรับใช้งานร่วมกันได้ นอกนั้น อย่าไปฝืน สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ อุปกรณ์ควบที่ใช้กับรอก และกว้านสลิง ต้องเหมาะสม ไม่ใช่รอกรับได้ 3 ตัด ส่วนคานรับน้่ำหนักรับได้ 1 ตัน แบบนี้ก็คงไม่ไหวจ้า

มาถึงตรงนี้ก็คงพอรู้ และมองภาพออกแล้วนะคะ ว่า ประสบการณ์ตรงใช้รอก หรือกว้านสลิงดี เป็นยังไง และมีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง อ้อมเองก็พยายามเสาะหาแหล่งความรู้ เพื่อนำมาศึกษาในรายละเอียด และต่อยอดความเข้าใจ ก่อนนำมาแชร์ให้ทราบกัน ยังมีเรื่องราวอื่นๆ อีกมากมายที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนที่ต้องลงลึก ต้องศึกษาต่อ เมื่อได้เรื่องยังไงก็จะนำมาบอกเล่าต่อให้ฟังกันเรื่อยๆ นะคะ

เครื่องทุ่นแรงยกของหนัก,อุปกรณ์ เลื่อน ของ หนัก,อุปกรณ์เคลื่อนย้ายของหนัก,เครื่องช่วยยกของหนัก,เครื่อง ทุ่น แรง ต่างๆ,รอกขนของขึ้นที่สูง,รอกเชือกยกของ,กว้านรอก,ประโยชน์ของรอก,ความ รู้ เกี่ยว กับ รอก

วิธีทำให้ผู้ชายชอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น