สวัสดีจ้า วันนี้เป็นวันที่อากาศแถวๆ บ้านอ้อมดีมากๆ แล้วอากาศที่อื่นๆ เป็นยังไงบ้างน้อ สำหรับใครที่กำลังท้อแท้กับปัญหาที่เจอทั้งในเรื่องงานประจำ งานส่วนตัว อย่าคิดมากนะคะ ทุกๆ ปัญหามีทางออก ทำสิ่งที่เราทำได้ให้ดีที่สุดก็เพียงพอแล้ว ผลลัพธ์จะเป็นยังไง ค่อยไปว่ากันอีกทีเนาะ มาครั้งนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง ปั๊ม ชัก กับ หอยโข่ง เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะยังมองภาพไม่ออกกันอยู่ว่าคืออะไร ทำไมต้องมาพูดเรื่อง ปั้มหอยโข่ง, ปั้มชัก, เลือกปั้มให้เหมาะสม นี้กันดัวย ก่อนเข้าเรื่องกัน อ้อมขออกตัวก่อนว่า ข้อมูลที่อ้อมแนะนำมาทั้งหมด หลายๆ ข้อมูลอ้อมนำประสบการณ์ ความรู้โดยตรงมาแชร์หลายๆ บทความอ้อมนำข้อมูลที่ศึกษามา ออกมาแชร์มากรั่นกรอง เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับเผยแพร่สำหรับผู้ที่สนใจอีกที เป้าหมายเพื่ออยากให้บล็อคที่อ้อมได้สร้างขึ้นทั้งหมด เป็นจุดรวมสาระต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ อย่างบทความนี้ที่เราจะได้พูดถึงเรื่อง ปั๊ม ชัก กับ หอยโข่ง กัน
จากประสบการณ์ที่ทำมา พลังงานทดแทนให้ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ใช้แล้วสบายๆ ใจ ไม่ต้องคิดให้ปวดหัวต้องเสียค่าน้ำมันเท่าไหร่ เพราะเราใช้แสง และลมช่วยสร้างพลังงาน ในที่นี้อ้อมยังใช้แสงอยู่นะคะ
สามารถนำอุปกรณ์ที่หลากหลายไปใช้งานที่สวนนอกเหนือจากการใช้ปั้มได้ อาทิเช่น
ยังมีอีกมากมายที่เราสามารถปรับใช้งานได้จากพลังงานทดแทน
นอกเรื่องไปซะไกลเลย เข้าเรื่องหน่อยดีกว่า ปั๊ม ชัก กับ หอยโข่ง
ส่วนตัว ใช้ปั้มชักนิ้วครึ่ง มาก 1 ปีเต็มๆ ส่วนหอยโข่งพึ่งได้เริ่มใช้งาน เทียบกันเป็นข้อๆ เลยเนาะ
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่อ้อมแชร์นี้อ้อมอ้างอิงจากประสบการณ์ตัวเอง ปั้มจะทำงานต่อเนื่องได้ดี หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแหล่งจ่าย คือแผงโซล่าเซล หากเรามีมากกว่า 4 แผง เช่น 6 แผงขึ้น การจ่ายพลังานในช่วงแดดอ่อน ก็จะสามารถทำให้ปั้มทำงานได้ต่อเนื่องและดี แต่ก็อีกนั่นแหละ อย่างของอ้อมเป็นการติดตั้งและใช้งาน ใช้งานเสร็จก็เก็บกลับบ้าน ถ้ามีแผงจำนวนมากๆ ก็จะส่งผลให้เหนื่อยช่วงติดตั้งและเก็บ ก็ต้องดูที่ความเหมาะสมของแต่ละคนเนาะ งานนี้ปรับใช้กันตามสบายเลย
[DIY หมวดเกษตรกร] ปั๊ม ชัก กับ หอยโข่งเลือกแบบไหนดี |
[DIY หมวดเกษตรกร] ปั๊ม ชัก กับ หอยโข่งเลือกแบบไหนดี
ออกตัวก่อนนะคะ อ้อมไม่ได้เข้าสวนเอง แต่เป็นแผนกช่วยเหลือ การถ่ายทำจะเป็นส่วนของแฟน หากเรามองเรื่องงานประดิษฐ์ กับงานเกษตรกร อ้อมมองว่าคล้ายๆ กัน เพราะ หลายๆ อย่างเราจะพึ่งแต่การใช้ของสำเร็จรูปเลยคงยากวันนี้ที่หยิบยกเรื่องของปั้มน้ำพลังงานทดแทนมานำเสนอ เพราะเชื่อว่าหลายๆ ท่านยังลังเลอยู่ว่า จะเลือกใช้ของสำเร็จ คือปั้มไฟฟ้า หรือจะเลือกพึ่งพาปั้มพลังงานทดแทนจากประสบการณ์ที่ทำมา พลังงานทดแทนให้ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ใช้แล้วสบายๆ ใจ ไม่ต้องคิดให้ปวดหัวต้องเสียค่าน้ำมันเท่าไหร่ เพราะเราใช้แสง และลมช่วยสร้างพลังงาน ในที่นี้อ้อมยังใช้แสงอยู่นะคะ
สามารถนำอุปกรณ์ที่หลากหลายไปใช้งานที่สวนนอกเหนือจากการใช้ปั้มได้ อาทิเช่น
- - พัดลม อันนี้ส่วนตัวอ้อมและแฟนมองว่า โค ตะ ระจำเป็นเลย ทำงานร้อนๆ แล้วมานั่งพักให้พัดลมเป่า ทำให้หายเหนื่อยได้เร็วมากๆ
- - การชาร์ทแบตฯ ไม่ต้องกังวลว่าแบตจะหมด เพราะเรามีพลังงานอยู่แล้ว
- - แสงสว่าง นอนไร่ นอนสวน จำเป็นมาก
ยังมีอีกมากมายที่เราสามารถปรับใช้งานได้จากพลังงานทดแทน
นอกเรื่องไปซะไกลเลย เข้าเรื่องหน่อยดีกว่า ปั๊ม ชัก กับ หอยโข่ง
ส่วนตัว ใช้ปั้มชักนิ้วครึ่ง มาก 1 ปีเต็มๆ ส่วนหอยโข่งพึ่งได้เริ่มใช้งาน เทียบกันเป็นข้อๆ เลยเนาะ
- ปั้มชักดีที่สามารถส่งระยะไกล และส่งขึ้นที่สูงได้ดีกว่าหอยโข่ง
- ปั้มชักไม่ต้องกรอกน้ำให้เสียเวลา ปั้มเขาจะดูดน้ำขึ้นเอง ส่วนหอยโข่งส่วนใหญ่จะต้องกรอกน้ำไว้ระดับนึง
- ปั้มชักจะมีน้ำหนักมากกว่าหอยโข่ง ดังนั้น หากต้องเคลื่อนที่แบบตั้งเช้าเก็บเย็น บอกเลยหากไม่มีตัวช่วย เหนื่อยมาก
- ปั้มชักน้ำไม่แรง แต่ออกเรื่อยๆ หากต้องการความไว เน้นดึงน้ำเข้านา เข้าสวน แนะนำหอยโข่งดีสุด
- การใช้พลังงานปั้มชัก อ้อมใช้มอเตอร์บัสเลส 500W 24V การกินกระแสต่ำสุด 4 แอมป์น้ำออกน้อย สูงสุด 7 แอมป์น้ำออกแรงสุดแต่ก็แรงในแบบของปั้มชัก ส่วนปั้มหอยโข่งใช้มอเตอร์ 150V มอเตอร์ 2.0 HP การกิรกระแสสูงสุด 5 แอมป์ ต่ำสุดที่วัดได้ 3 แอมป์น้ำถึงออกแรง ต่ำกว่านี้น้ำออกไม่เต็มท่อไปถึงไม่ออกเลย
- ปั้มชักใช้แผงโซล่าเซล 2 แผงก็เพียงพอ ให้ดีถ้าอยากให้น้ำออกสม่ำเสมอแนะนำ 4 แผงไปเลย เพราะบางพื้นที่มีเมฆมากแสงจะไม่สม่ำเสมอ ปั้มหอยโข่ง ด้วยกำลังไฟ 150V ทำให้การกินกระแสน้อยแค่ 3แอมป์น้ำก็ออกแรงแล้ว ไม่ต้องพูดถึง 5 แอมป์แรงมากๆ นั่นหมายความว่า แม้เมฆจะบังแสง แต่ถ้าไม่มีเงาทับแผ่งโซล่าเซล แผงได้รับแสงเต็มๆ ปั้มก็ยังทำงานได้ดี(แต่ถ้าคลึ้มฟ้าคลึ้มฝนอันนี้คงไม่ไหวเนาะ)
- ปั้มชักสามารถเริ่มทำงานได้ตั้งแต่เช้าตรูไปจนถึงอาทิตย์ตก หากเราต่อปั้มเข้าแบตเตอร์รี่ อย่างของอ้อมมอเตอร์บัสเลสจะมีกล่องควบคุม มอเตอร์ 24V ก็จริง แต่เราสามารถต่ออนุกรมแบต 3 ลูกได้ 36V ต่อเข้ามอเตอร์ได้เลย สามารถทำงานได้ต่อเนื่องอย่างน้อยๆ 2 ชั่วโมง เกินกว่านั้นอันตรายต่อแบต ถึง 2 ชั่วโมงแสงน่าจะมาได้เพียงพอต่อการชาร์ทเข้าแบตแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลอะไร หลัง 16.00 น. แสงเริ่มหมด ปั้มก็ยังทำงานต่อในอัตราความเร็วเท่าเดิม เพราะดึงพลังงานจากแบตฯมาใช้ต่อ จนถึงอาทิตย์ตกกันเลย
- ปั้มหอยโข่งอ้างอิงแสงเป็นหลัก ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ขึ้นไป หากวางแผงไม่ดี มีเงามาบังแผงโซล่าเซลเกิน 40% ก็มีผลทำให้ปั้มไม่ทำงาน หรือดูดน้ำไม่ได้แล้ว แต่ข้อด้อยตรงนี้ก็ถูกแทนที่ด้วยอัตราการไหลของน้ำที่แรง นั่นหมายความว่าระยะเวลาในการให้น้ำจะสั่นลง เมื่อเปรียบเทียบกับปั้มชัก
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่อ้อมแชร์นี้อ้อมอ้างอิงจากประสบการณ์ตัวเอง ปั้มจะทำงานต่อเนื่องได้ดี หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแหล่งจ่าย คือแผงโซล่าเซล หากเรามีมากกว่า 4 แผง เช่น 6 แผงขึ้น การจ่ายพลังานในช่วงแดดอ่อน ก็จะสามารถทำให้ปั้มทำงานได้ต่อเนื่องและดี แต่ก็อีกนั่นแหละ อย่างของอ้อมเป็นการติดตั้งและใช้งาน ใช้งานเสร็จก็เก็บกลับบ้าน ถ้ามีแผงจำนวนมากๆ ก็จะส่งผลให้เหนื่อยช่วงติดตั้งและเก็บ ก็ต้องดูที่ความเหมาะสมของแต่ละคนเนาะ งานนี้ปรับใช้กันตามสบายเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น